อำนาจ และหน้าที่

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (สง.ก.ตร.) มีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้

(ก) เป็นฝ่ายอํานวยการด้านยุทธศาสตร์ให้กับสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ในการวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คําแนะนํา และเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอํานาจและหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการตํารวจและหน่วยงานในสังกัด

(ข) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) และตามที่คณะกรรมการข้าราชการตํารวจมอบหมาย

(ค) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการข้าราชการตํารวจหรืออนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ เกี่ยวกับการรายงานการดําเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการตํารวจ

(ง) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการข้าราชการตํารวจหรืออนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ เกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดในทะเบียนประวัติ (กพ.๗) และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการตํารวจ

(จ) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการข้าราชการตํารวจหรืออนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ เกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ของข้าราชการตํารวจ พนักงานราชการและลูกจ้างในสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

(ฉ) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการข้าราชการตํารวจหรืออนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ เกี่ยวกับการให้คําปรึกษา วินิจฉัยปัญหา การออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด ประกาศ มติของคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการตํารวจ

(ช) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๒ เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๖๕ ก หน้า ๕ – ๖)

(สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๒ เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๒๔ – ๒๖)
[showhide type=”pressrelease” more_text=”อ่านเพิ่ม ” less_text=”ซ่อนข้อความ ” hidden=”yes”]

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ

(ก) ฝ่ายอํานวยการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑) ดําเนินการเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ งานกําลังพล งานงบประมาณ การเงินและพัสดุ งานยุทธศาสตร์ งานศึกษาอบรม และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ

๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ข) กองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการวิเคราะห์และกําหนดตําแหน่งของหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนการจัดระบบการบริหารงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

๒) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

๓) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการจัดทํา แก้ไขปรับปรุง และตรวจสอบมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง รวมทั้งดําเนินการเกี่ยวกับเงินเพิ่มพิเศษและเงินประจําตําแหน่งของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

๔) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการพัฒนานโยบาย ระบบ หรือมาตรฐานการบริหารงานบุคคล และพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมของข้าราชการตำรวจ

๕) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการให้คําปรึกษา วินิจฉัยปัญหา รวมทั้งการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด ประกาศ หรือมติ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

๖) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบ การบริหารงานบุคคล งานเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของข้าราชการตํารวจ

๗) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยตํารวจแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว

๘) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ยกเว้นเรื่องการดําเนินการทางวินัย การให้ออกจากราชการ และการอุทธรณ์และร้องทุกข์

๙) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการตรวจสอบคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตํารวจ ยกเว้นคําสั่งในเรื่องการดําเนินการทางวินัย การให้ออกจากราชการ และการอุทธรณ์และร้องทุกข์

๑๐) ดําเนินการเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ กพ.๗ และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการตํารวจตามระเบียบ ก.ตร. และเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดในทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตํารวจ

๑๑) ดําเนินการเกี่ยวกับการประชุมของ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. ตามที่ได้รับมอบหมาย

๑๒) ดําเนินการเลือก ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนดําเนินงานเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุกรรมการ ก.ตร. คณะต่าง ๆ

๑๓) ดําเนินการและประสานงานคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร.

๑๔) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. มอบหมาย

๑๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ค) กองมาตรฐานวินัย มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการรายงานการดําเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการตํารวจตามอํานาจ ก.ตร.

๒) ดําเนินการเกี่ยวกับการสั่งให้ข้าราชการตํารวจประจํากรม ประจํากอง หรือประจําส่วนราชการ

๓) ดําเนินการและประสานงานคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการทางวินัย และการให้ออกจากราชการ

๔) ดําเนินการเกี่ยวกับการประชุมของอนุกรรมการ ก.ตร. ตามที่ได้รับมอบหมาย

๕) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. มอบหมาย

๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(ง) กองอุทธรณ์ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งลงโทษ ปลดออก ไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ การรายงานการดําเนินการทางวินัย และการให้ออกจากราชการที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่อุทธรณ์

๒) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งลงโทษ ภาคภัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน ที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งลงโทษ และการรายงานการดําเนินการทางวินัยที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่อุทธรณ์

๓) ดําเนินการและประสานงานคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. ในส่วนที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์

๔) ดําเนินการเกี่ยวกับการประชุมของอนุกรรมการ ก.ตร. ตามที่ได้รับมอบหมาย

๕) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. มอบหมาย

๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(จ) กองร้องทุกข์ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑) พิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการร้องทุกข์ในกรณีที่กฎ ก.ตร. กําหนดให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ตร. เกี่ยวกับการใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบหรือกฎหมายของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

๒) ดําเนินการและประสานงานคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. ในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์

๓) ดําเนินการเกี่ยวกับการประชุมของอนุกรรมการ ก.ตร. ตามที่ได้รับมอบหมาย

๔) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ ก.ตร. หรืออนุกรรมการ ก.ตร. มอบหมาย

๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
[/showhide]